ให้นักศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
หมวด ๑ : บททั่วไป
มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว
จะแบ่งแยกมิได้
มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา
คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา
คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด
ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
มาตรา ๗ ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด
ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หมวด ๒: พระมหากษัตริย์
มาตรา ๘ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ
ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด
ๆ มิได้
หมวด ๓: สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ 3 : สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
มาตรา ๓๒ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม
จะกระทำมิได้แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้
การจับและการคุมขังบุคคล
จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง
จะกระทำมิได้เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ
ในกรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง
ผู้เสียหาย พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น
รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
หมวดที่ 3:
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
ส่วนที่ 8:
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา 49
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิจากวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ
เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาหรืออบรมขององค์กรวิชาชีพหรืเอกชน
การศึกษาทางเลือกของประชาชน หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตราที่ 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม
การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ
ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา 49
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิจากวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ
เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาหรืออบรมขององค์กรวิชาชีพหรืเอกชน
การศึกษาทางเลือกของประชาชน หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตราที่ 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม
การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ
ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
ซึ่งใครจะละเมิดไม่ได้ ดังนั้นเราทุกคนจึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
เพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ที่เราจะได้รับ และเมื่อเรามีความรู้
ความเข้าใจแล้วเราก็จะไม่ทำในสิ่งที่เป็นการละเมิดกฎหมาย
ซึ่งส่งผลให้สังคมมีความสงบสุข และประชาชนก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน
นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
เห็นด้วยกับการไขรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางส่วนอาจจะส่งผลดีต่อสังคม เป็นการแก้ไขในสิ่งที่อาจจะไม่เหมาะสมการสถานการณ์ในปัจจุบัน
แต่จะต้องเป็นไปด้วยความเห็นชอบของทุกฝ่ายและเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม
และประเทศชาติ
สาเหตุที่มีประชาชนบางกลุ่มคัดค้าน
อาจเนื่องมาจากการรักษาสิทธิประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่ม
ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจจะทำให้พวกเขเสียผลประโยชน์ก็เป็นได้
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3
อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน
และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ
มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร
มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
อำนาจทั้ง 3
อำนาจนั้นมีความสำคัญมากเท่าเทียมกัน ซึ่งจะต้องมีความสมดุลกัน ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การแบ่งแยกอำนาจมิได้หมายความว่า องค์กรผู้ใช้อำนาจทั้งสาม คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการจะต้องมีอำนาจเท่าเทียมกัน โดยอำนาจใดอำนาจหนึ่งอาจอยู่เหนืออีกอำนาจหนึ่งได้และอีกฝ่ายหนึ่งก็มีขั้นตอนในการลดอำนาจของอีกฝ่ายตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้ไว้ อาจกล่าวได้ว่า การถ่วงดุลอำนาจมักเป็นเรื่องของอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร โดยในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง การถ่วงดุลอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น