วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


คำนิยามเกี่ยวกับกฎหมาย

 
·       กฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามต้องรับโทษ
·       อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และ ในการปกครองแต่ละรูปแบบก็มีจำนวนผู้มีอำนาจอธิปไตยที่แตกต่างกันไป
ที่มา: ทีมงานทรูปลูกปัญญา. (2555). สืบค้นจาก http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2158 ค้นเมื่อ [9 พฤศจิกายน 2555]
·       ระเบียบ น. แบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติหรือดําเนินการ เช่น ระเบียบวินัย ระเบียบข้อบังคับ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ. ว. ถูกลําดับ,ถูกที่เป็นแถว เป็นแนว,มีลักษณะเรียบร้อย,เช่น เขาทำงานอย่างมีระเบียบ
·       แถลงการณ์ (กฎ) น. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจ ในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบ ชัดเจนโดยทั่วกัน. ก. อธิบายเหตุการณ์เป็นทางการ
·       พระราชกำหนด Emergency Decree;Royal ordinance คือ กฎหมายที่บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี)
พระราชกำหนดเป็นรูปแบบหนึ่งของกฎหมายที่ฝ่ายบริหารคือ พระมหากษตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรีตราขึ้นโดยอำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ไว้
ที่มา: สืบค้นจาก http://www.thethailaw.com/law22/law22.html ค้นเมื่อ [9 พฤศจิกายน 2555]
·       บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย
สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตาม คำสั่งของศาล
·       การสาบสูญ คือ การหายจากภูมิลำเนาในภาวะปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี ถือว่าเป็นคนสาบสูญได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้
·       ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
·       นิติกรรม คือการแสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ์
·       มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย
·       พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์
·       สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน
·       เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา
·       หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ
ที่มา : ธนาภรณ์  เพิ่มสุข สืบค้นจาก http://thanapornaek.blogspot.com/p/blog-page_1604.html ค้นเมื่อ [9 พฤศจิกายน 2555]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น