วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3

 
หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้แล้วให้นักเรียนตอบคำถาม

1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
         รัฐธรรมนูญ (Constitution)  คือ กฎหมายสูงสุด ( Supreme Law ) และเป็นกฎหมายขั้นมูลฐาน ( Fundamental Law ) ของประเทศ ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท ดังนั้นพระราชบัญญัติเป็นกฏหมายที่มีลำดับลองจากกฏหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งฏหมายที่มีลำดับรองจากรัฐธรรมนูญนั่นประกอบด้วยกฎหมาย 3 อย่าง คือ 1 ประมวลกฎหมาย 2 พระราชบัญญัติ 3 พระราชกำหนด ซึ่งกฎหมายสามอย่างนี้มีศักเท่าเทียมกัน

2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
          การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
       1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
       2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
       3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

  
4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
          1. มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ          
          2. มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น
          3. มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
          4. มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และ
การพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง         
          5. ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา          
          6. การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
            การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
          การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
         1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
         2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
         3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ
หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ

7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
           สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบุคคล และโอกาส และเป็นส่วนช่วยในการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียน ให้สังคมมีส่วนร่วม และมีการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
          มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 

9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด        
          เห็นด้วย เนื่องจากถ้าแต่ละสถานศึกษาจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคล ก็จะทำให้แต่ละสถานศึกษามีอิสระในการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน และเหมาะสมกับทรัพยากรที่แต่ละสถานศึกษามีอยู่

10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
         เห็นด้วย เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละที่ก็จะมีทรัพยากรที่แตกต่างกัน ที่จะสามารถจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้ และสามารถจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียนในท้องถิ่นได้

11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
         "การประเมินคุณภาพภายในหมายความว่า การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม และการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนดสำหรับการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งกระทำโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา
 
12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
          เห็นด้วย เนื่องจากว่าการที่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ที่่มีใบประกอบวิชาชีีพจะแสดงให้เห็นว่า บุคคลเหล่านี้มีความรู้ ความสามารถจริงในสาขาที่เขาทำงานและสามารถเชื่อถือได้

13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
          จัดตั้งโครงการขึ้นในชุมชน 1 โครงการ โดยมีสมาชิกที่มาจากโรงเรียน ชุมชน และบุคลากรในท้องถิ่นเพื่อร่วมกันจัดตั้งโครงการ เพื่อที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของนักเรียนในท้องถิ่น เช่น โครงการหนังสือมือสองสู่น้อง เป็นการที่ให้สมาชิกในท้องถิ่นร่วมกันบริจาคหนังสือให้กับรงเรียนที่ขาดแคลนทรัพยากรในด้านนี้ เพื่อให้นักเรียนได้มีหนังสืออ่านเพิ่มพูนความรู้


          การระดมทุนอาจจะไม่ใช่แค่เงินเพียงอย่างเดียว อาจจะรวมไปถึงหนังสือ หรืออุปกรณ์การเรียนต่างๆด้วย

14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
          ปัจจุบันมีการใช้สื่่อทางการศึกษากันอย่างแพร่หลาย และก็มีสื่อทีเกี่ยวกับการศึกษามากมายด้วยเช่นกัน การที่เราจะพัฒนาสื่อทางการศึกษาต้องคำนึงถึงว่าเราจะใช้กับผู้เรียนแบบไหนและผู้เรียนกลุ่มใด ถ้าเป็นผู้เรียนในระดับชั้นเล็กๆ เช่น ระดับประถมศึกษา การเลือกใช้สื่อก็ไม่ควรเน้นเนื้อหาสาระและเป็นนวิชาการมากเกินไป แต่ถ้าเป็นผู้เรียนในระดับสูงขึ้นก็สามารถใช้สื่อที่เป็นวิชาการและเน้นเนื้อหาสาระได้ การพัฒนาสื่อก็ควรจะให้เหมาะสมกับผู้เรียนในระดับต่างๆด้วย

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

 
ให้นักศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
               หมวด ๑ :              บททั่วไป
                มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
                มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
                มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
                มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
                มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
                มาตรา ๗ ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                หมวด ๒:             พระมหากษัตริย์
                มาตรา ๘ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
                หมวด ๓:              สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
                ส่วนที่ 3 :              สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
                มาตรา ๓๒ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
                การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้
                การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
                การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ
                ในกรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
                หมวดที่ 3:            สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
                ส่วนที่ 8:               สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
                มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
                ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิจากวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
                การจัดการศึกษาหรืออบรมขององค์กรวิชาชีพหรืเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
                มาตราที่ 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
                สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
                มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
                ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิจากวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
                การจัดการศึกษาหรืออบรมขององค์กรวิชาชีพหรืเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
                มาตราที่ 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
              การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
                เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งใครจะละเมิดไม่ได้ ดังนั้นเราทุกคนจึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ที่เราจะได้รับ และเมื่อเรามีความรู้ ความเข้าใจแล้วเราก็จะไม่ทำในสิ่งที่เป็นการละเมิดกฎหมาย ซึ่งส่งผลให้สังคมมีความสงบสุข และประชาชนก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
                เห็นด้วยกับการไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางส่วนอาจจะส่งผลดีต่อสังคม เป็นการแก้ไขในสิ่งที่อาจจะไม่เหมาะสมการสถานการณ์ในปัจจุบัน แต่จะต้องเป็นไปด้วยความเห็นชอบของทุกฝ่ายและเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม และประเทศชาติ
                สาเหตุที่มีประชาชนบางกลุ่มคัดค้าน อาจเนื่องมาจากการรักษาสิทธิประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่ม ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจจะทำให้พวกเขเสียผลประโยชน์ก็เป็นได้
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
                อำนาจทั้ง 3 อำนาจนั้นมีความสำคัญมากเท่าเทียมกัน ซึ่งจะต้องมีความสมดุลกัน ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การแบ่งแยกอำนาจมิได้หมายความว่า องค์กรผู้ใช้อำนาจทั้งสาม คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการจะต้องมีอำนาจเท่าเทียมกัน โดยอำนาจใดอำนาจหนึ่งอาจอยู่เหนืออีกอำนาจหนึ่งได้และอีกฝ่ายหนึ่งก็มีขั้นตอนในการลดอำนาจของอีกฝ่ายตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้ไว้ อาจกล่าวได้ว่า การถ่วงดุลอำนาจมักเป็นเรื่องของอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร โดยในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง การถ่วงดุลอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร  


วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


คำนิยามเกี่ยวกับกฎหมาย

 
·       กฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามต้องรับโทษ
·       อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และ ในการปกครองแต่ละรูปแบบก็มีจำนวนผู้มีอำนาจอธิปไตยที่แตกต่างกันไป
ที่มา: ทีมงานทรูปลูกปัญญา. (2555). สืบค้นจาก http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2158 ค้นเมื่อ [9 พฤศจิกายน 2555]
·       ระเบียบ น. แบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติหรือดําเนินการ เช่น ระเบียบวินัย ระเบียบข้อบังคับ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ. ว. ถูกลําดับ,ถูกที่เป็นแถว เป็นแนว,มีลักษณะเรียบร้อย,เช่น เขาทำงานอย่างมีระเบียบ
·       แถลงการณ์ (กฎ) น. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจ ในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบ ชัดเจนโดยทั่วกัน. ก. อธิบายเหตุการณ์เป็นทางการ
·       พระราชกำหนด Emergency Decree;Royal ordinance คือ กฎหมายที่บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี)
พระราชกำหนดเป็นรูปแบบหนึ่งของกฎหมายที่ฝ่ายบริหารคือ พระมหากษตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรีตราขึ้นโดยอำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ไว้
ที่มา: สืบค้นจาก http://www.thethailaw.com/law22/law22.html ค้นเมื่อ [9 พฤศจิกายน 2555]
·       บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย
สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตาม คำสั่งของศาล
·       การสาบสูญ คือ การหายจากภูมิลำเนาในภาวะปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี ถือว่าเป็นคนสาบสูญได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้
·       ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
·       นิติกรรม คือการแสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ์
·       มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย
·       พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์
·       สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน
·       เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา
·       หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ
ที่มา : ธนาภรณ์  เพิ่มสุข สืบค้นจาก http://thanapornaek.blogspot.com/p/blog-page_1604.html ค้นเมื่อ [9 พฤศจิกายน 2555]

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำตัว

Myself

 

ชื่อ  :                 นางสาวเพ็ญนภา  เจริญพงศ์
ชื่อเล่น  :           เพ็ญ 
รหัส  :              5211114005

ประวัติการศึกษา

 

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ณ โรงเรียนบ้านโคกมะขาม

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ณ โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ณ โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก 

 

คติประจำใจ

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น