วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)
1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ 
 
                รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายหลักหรือกฎหมายสูงสุดของประเทศซึ่งกำหนดรูปแบบและแนวทางในการปกครองประเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่าง รัฐกับประชาชน รัฐธรรมนูญ จะกำหนดเนื้อหาสาระต่างๆ ไว้ ได้แก่ เจตนารมณ์ของประชาชน โครงสร้างของรัฐบาล การแบ่งแยกอำนาจ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมไปถึงวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
                พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือ แย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้เนื้อหาของพระราชบัญญัติยังมีลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไปในการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง กำหนดขอบเขตแห่งสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ตลอดจนจำกัดสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้
                พระราชกำหนด หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี)
พระราชกำหนดเป็นรูปแบบหนึ่งของกฎหมายที่ฝ่ายบริหารคือ พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรีตราขึ้นโดยอำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ไว้
                พระราชกำหนดมีอยู่ 2 ประเภท คือ
                1. พระราชกำหนดทั่วไป เป็นกรณีที่ตราพระราชกำหนดเพื่อประโยชน์อันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และ
                2. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีและเงินตรา เป็นกรณีที่ตราพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินในระหว่างสมัยประชุมสภา
                พระราชกฤษฎีกา หมายถึง กฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
ตามรัฐธรรมนูญการตราพระราชกฤษฎีกาจะเกิดขึ้นใน 3 กรณีคือ
                (1) รัฐธรรมนูญกำหนดให้ตราพระราชกฤษฎีกา ในกิจการที่สำคัญอันเกี่ยวกับฝ่ายบิรหารและฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น พระราชกฤษฎีกา เรียกประชุมรัฐสภา พระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎรหรือพระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                (2) โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พศ.2540 เป็นการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อใช้กับฝ่ายบริหาร ไม่ใช้บังคับแก่ประชาชนทั่วไป อนึ่ง กรณีนี้จะไม่มีบทมาตราใดในรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ เช่น พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ
                (3) โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายแม่บท(พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด) ที่ให้อำนาจตราพระราชกฤษฎีกาได้
                เทศบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496

2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไรในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
                กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นกฎหมายที่มีการพยายามที่จะแก้ไขในหลายๆมาตราเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และเพื่อประโยชน์สวนตนที่ส่งผลกรทบต่อส่วนรวมเป็นจำนวนมาก
                การกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้คือ ต้องคำนึงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของกฎระเบียบ กติกาทางสังคมที่ทุกคนมีความเข้าใจตรงกัน และทุกคนจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ใครที่กระทำผิดกฎหมายก็ให้ลงโทษให้ถึงที่สุด ไม่มีการยกเว้น
                หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญบ้านเมืองก็คงจะมีแต่โจรผู้ร้ายเกลื่อนเมือง เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่จะมาลงโทษผู้กระทำผิด และไม่มีกฎหมายที่จะมาคุ้มครองผู้บริสุทธิ์ และถ้าเราไม่มีรัฐธรรมนูญคนชั่วก็คงจะขึ้นปกครองประเทศไปแล้ว

3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
                ไม่ควรแก้ เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่สูง และทุกคนก็เคารพและเทิดทูนพระมหากษัตริย์ ดังนั้นใครที่คิดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สมควรที่จะได้รับโทษให้ถึงที่สุด

4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
                ดิฉันมองว่าเป็นปัญหาที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นการตัดสินใจของคนกลุ่มหนึ่งที่เห็นแก่ตัว ปัญหานี้ถ้าใช้เหตุผลในการหาข้อยุติก็จะดีกว่านี้ คงจะไม่มีการสูญเสียเกิดขึ้นและเป็นการทำลายมิตรภาพระหว่างประเทศที่ดีงาม แนวทางแก้ไขคือ ทั้งสองฝ่ายควรจะใช้เหตุผลมากกว่าการใช้ความรุนแรง ดิฉันคิดว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
                เห็นด้วย เนื่องจากว่าพระราชบัญญัติการศึกษาและรัฐธรรมนูญการศึกษา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งสิ้น และเป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางการศึกษาที่

6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษา การประกันคุณภาพภายใน การประกันคุณภาพภายนอก ผู้สอน ครู คณาจารย์ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา
                การศึกษา คือ วิธีการซึ่งส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
                การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแรงมั่นคง เพียงพอ กับการ ดำรงชีวิตให้ดีได้ในวันข้างหน้า
                การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
                การศึกษาในระบบ คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
                การศึกษานอกระบบ หมายถึง การศึกษาซึ่งจัดขึ้นนอกระบบปกติ ที่จัดให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ไม่มีการจำกัดพื้นฐานการศึกษาอาชีพประสบการณ์หรือความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในด้านพื้นฐานแก่การดำรง ชีวิต ความรู้ทางด้านทักษะ การประกอบอาชีพและความรู้ด้านอื่น ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การจัดการศึกษามีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเงื่อนไข การสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตร จะต้องมีตามเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
                การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
                สถานศึกษา หมายถึง หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ
                สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง สถานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลัก ในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
                การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล สถานศึกษานั้น
                การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
                ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
                ครู หมายถึง บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน
                คณาจารย์ หมายถึง บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ของรัฐและเอกชน
                ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบ การบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
                บุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
                การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
                การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ
มีวิธีการทำอย่างไร
                ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ.ศ.2546 ได้กำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                (1) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
                (2) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
                (3) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
                (4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
                (5) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
                (6) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
                (7) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
                (8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
                ถ้าปฏิบัติตามนี้ก็ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าต้องการที่จะสอนก็ควรที่จะทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนในภายหลัง
 
9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
                1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2547
                2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
                3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
                4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช

10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้างครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
                จากการเรียนวิชานี้ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการศึกษาที่เป็นประโยชน์มากต่อวิชาชีพครู และความรู้ที่เกี่ยวกับสาขาวิชาที่เรียน ผู้สอนมีการแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชี และการดำเนินชีวิต
                การเรียนโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม ทำให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ที่เป็นการเปิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น ได้แนวคิดที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนต่อไป
                ถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ดิฉันให้เกรด A และดิฉันคิดว่าดิฉันก็จะได้เกรด A เช่นเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น