1.กฎหมายคืออะไร
จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์
ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ
รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (ของประเทศไทยรัฐาธิปัตย์ แบ่งออกเป็น 3
ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ
แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด เฉพาะ ด้านของตนเท่านั้น สรุปก็คือรัฐาธิปัตย์ของไทย
ก็มีด้านบริหาร บัญญัติและตัดสิน นั่นเอง)
การใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฎิบัติ
คือ กฎหมายจะใช้กับทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนในระดับใด
ฐานะใดจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายทั้งหมด
ถ้าผู้ใดกระทำความผิดก็จะต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด ไม่มีการยกเว้น
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู
ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน
จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ เห็นด้วย เนื่องจากว่าครู ผู้บริหารสถานศึกษา
ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน
ถ้าประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบประกอบวิชาชีพถือว่าผิดกฎหมาย
และใบประกอบวิชาชีพนั้นจะแสดงให้เห็นว่า ผู้นั้นความรู้ในด้านที่ตนประกอบอาชีพจริง
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ จัดตั้งโครงการขึ้นในชุมชน 1 โครงการ โดยมีสมาชิกที่มาจากโรงเรียน ชุมชน
และบุคลากรในท้องถิ่นเพื่อร่วมกันจัดตั้งโครงการ
เพื่อที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของนักเรียนในท้องถิ่น เช่น “โครงการหนังสือมือสองสู่น้อง” เป็นการที่ให้สมาชิกในท้องถิ่นร่วมกันบริจาคหนังสือให้กับรงเรียนที่ขาดแคลนทรัพยากรในด้านนี้
เพื่อให้นักเรียนได้มีหนังสืออ่านเพิ่มพูนความรู้
การระดมทุนอาจจะไม่ใช่แค่เงินเพียงอย่างเดียว
อาจจะรวมไปถึงหนังสือ หรืออุปกรณ์การเรียนต่างๆด้วย
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ มี 3 รูปแบบ 1) การศึกษาในระบบ
2) การศึกษานอกระบบ 3) การศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบแบ่งออกเป็น
2 ระดับ คือ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษา
การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดแบ่งไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
มี 3 ระดับคือ การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
การศึกษาระดับประถมศึกษา และการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา
เป็นการศึกษาหลังระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มุ่งพัฒนาความเจริญงอกงามทางสติปัญญาและความคิด
เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ การศึกษาระดับนี้จัดแบบกว้างให้ผู้เรียนมีความรู้รอบ และเน้นเฉพาะสาขาวิชาชีพให้ผู้เรียนมีความรู้สึกและชำนิชำนาญทั้งในด้านทฤษฎี
ปฏิบัติและมีจรรยา บรรณของวิชาชีพนั้น ๆ
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ แตกต่างกัน
เนื่องจาก"การศึกษาภาคบังคับ" คือ การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
เด็กที่จะเข้ารับการศึกษาต้องมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก ตัวอย่างเช่น
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3
จะเป็นการศึกษาภาคบังคับ
ส่วน
"การศึกษาขั้นพื้นฐาน" คือ การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษา
การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดแบ่งไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
มี 3 ระดับคือ การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
การศึกษาระดับประถมศึกษา และการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ การบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกาา
โดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม
และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย
เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
หัวหน้าส่วนราชการคือ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยคำแนะนำของสภาการศึกษามีอำนาจประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546
ตอบ เนื่องจาก ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ
จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม
จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐาน เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู เพื่อปรับสภาในกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติครู
และเพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ ไม่เป็นการกระทำผิด
เนื่องจากมาตรา 43 ได้กำหนดข้อยกเว้นเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพควบคุมไว้อย่างชัดเจน
และกรณีนี้ก็อยู่ในข้อยกเว้นในข้อที่ 1 ที่ว่า
"ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา"
จึงไม่เป็นการกระทำผิดตาม พรบ.นี้
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน
อะไรบ้าง
ตอบ โทษทางวินัย
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ
บทลงโทษที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะได้รับเมื่อกระทำผิดวินัยที่บัญญัติที่เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติทีบัญญัติไว้
โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ 1) ภาคทัณฑ์
2) ตัดเงินเดือน 3) ลดขั้นเงินเดือน 4)
ปลดออก 5) ไล่ออก
10.ท่านเข้าใจคำว่า
เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม
ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ "เด็ก" คือ บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
"เด็กเร่ร่อน"
คือ เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้
จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ
หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
"เด็กกำพร้า"
คือ เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
"เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก" คือ เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง
ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก
หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา
หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น