วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4

 
1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
           เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติให้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือมีบุคคลให้การดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
          พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติแห่งกฎหมาย

          ก. ผู้ปกครอง ข.เด็ก ค.การศึกษาภาคบังคับ ง. องค์กรปกครองส่วนท้องุถิ่น
          ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำ หรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
          เด็ก หมายความว่า เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
          การศึกษาภาคบังคับ หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายวาด้วยการศึกษาแห่งชาติ
          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด 

3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน         
          มาตรา 13 ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
          ถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาคณะกรรมการการศึกษาประถมศึกษาแห่งชาติมีหน้าที่ในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน

4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรรวงศึกษาธิการ มีทั้งหมด 21 ข้อ 
         

สาระสำคัญ
          1. การบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมอื่น

          2. แบ่งเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษามีอำนาจประกาศกำหนดเขตพื้นที่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน

          3. การกำหนดให้โรงเรียนใดอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งการกำกับดูแล ประสาน ส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น